วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

ประเด็นคดีฉ้อโกงและแชร์ลูกโซ่

กรณีแชร์ลูกโซ่และฉ้อโกงประชาชน
           1.  ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตามพระราชกำหนดกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3, 4, 5, 9, 11/1 และ 12
           2.  ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 341 และ 343
           3.  ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรง และตลาดแบบตรง และดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจขายตรง โดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว ที่คำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น และร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรงโดยดำเนินกิจการที่ไม่เป็นไปตามแผนการจ่ายตอบแทนของตนที่ได้ยื่นต่อนายทะเบียนไว้ ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 19, 21, 46 และ 48
           4.  ร่วมกันประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ข้อ 5 และ 16  และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาต ตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 (การประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์) ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2547 ข้อ 1, 2, 5, 9, 15  ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องกิจการที่ต้องขออนุญาต ตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (การประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์) ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 ข้อ 1, 2, 5
           5.  ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 3 และ 14
           6. ฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 มาตรา 3, 4, 5, 6, 7 และ 25
           การกระทำความผิดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถือเป็นคดีความผิดนอกราชอาณาจักร ซึ่งต้องรับโทษตามกฎหมายไทย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20 โดยอัยการสูงสุดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
(ที่มา : ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานอัยการสูงสุด กรณียื่นฟ้องบริษัท ยูฟัน สโตร์ จำกัด ลงวันที่ 3 ก.ค.2558)

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

คำพิพากษาคดีปล่อยเงินกู้และเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

คำพิพากษาด้วยวาจา                                                                                         คดีหมายเลขดำที่ 5214/2552
                                                                                                                         คดีหมายเลขแดงที่ 5222/2552
                                                                    ศาลแขวงเชียงใหม่
                                                                         ความอาญา
พนักงานอัยการคดีศาลแขวงเชียงใหม่ โจทก์
นาย จ.    จำเลย
เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา  ความผิดต่อประกาศคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 58
                โจทก์ฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพ  ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า  เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2552  เวลาใดไม่ปรากฏชัด  จำเลยกับพวกซึ่งเป็นเยาวชนได้แยกดำเนินคดีไปยังศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่แล้ว  ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน  กล่าวคือ  อาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน และประกาศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548  กำหนดให้กิจการการให้สินเชื่อส่วนบุคคลเฉพาะที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน อันเป็นกิจการการให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลที่ต้องขออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยจำเลยกับพวกได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้ว ครั้นตามวันเวลาดังกล่าวข้างต้น จำเลยกับพวกซึ่งไม่ใช่นิติบุคคลและมิใช่สถาบันการเงินได้ร่วมกันประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลที่ต้องขออนุญาตโดยจำเลยกับพวกได้ร่วมกันให้นาง ม.  และบุคคลผู้มีชื่อจำนวนหลายราย  กู้ยืมเงินของจำเลยกับพวกไปโดยไม่มีทรัพย์หรือทรัพย์สินเป็นหลักประกันทั้งนี้  จำเลยกับพวกได้ร่วมกันประกอบธุรกิจดังกล่าวในทางการค้าเป็นปกติ  โดยไม่ได้ขออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ภายหลังที่จำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องแล้ว จำเลยกับพวกร่วมกันเป็นเจ้าหนี้ให้นาง ม. และให้บุคคลผู้มีชื่อเป็นลูกหนี้จำนวนหลายรายกู้ยืมเงินของจำเลยกับพวกไปและเก็บเงินกับลูกหนี้เป็นรายวัน โดยจำเลยกับพวกให้ นาง ม. และให้บุคคลผู้มีชื่อกู้ยืมเงินจำนวน 5,000 บาท ซึ่งลูกหนี้กู้ยืมจะต้องชดใช้คืนเงินต้นจำนวนคงที่และเรียกเก็บค่าดอกเบี้ยวันละ 100  บาท  ถ้าเงินต้นยังคืนไม่ครบจำนวนที่กู้ยืมไป ลูกหนี้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ  จนกว่าลูกหนี้จะชำระเงินต้นครบ  โดยจำเลยกับพวกคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราเบี้ยร้อยละ 15  ต่อปี  ตามที่กฎหมายกำหนดไว้อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย  เหตุเกิดที่ตำบลตลาดขวัญ  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่
             พิพากษาว่า  จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3  ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58  ลงวันที่ 26 มกราคม 2515  ข้อ 516  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมให้เรียงกระทงลงโทษทุกกรรมเป็นความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91  จำเลยให้การรับสารภาพเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาคดี  มีเหตุบรรเทาโทษ  ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78  ฐานร่วมกันประกอบธุรกิจให้สินเชื่อโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท ฐานร่วมกันคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด  จำคุก 3 เดือน และปรับ 500 บาท รวมจำคุก 6 เดือน และปรับ 5,500  บาท  โทษจำคุกให้รอลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2930  ริบของกลาง
(ขอขอบคุณบทความจาก  ทนายคลายทุกข์  http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=5121 )

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘  ลง ๒๖ ม.ค.๒๕๑๕
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ ๕ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ (เรื่อง สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ)  ลง ๒๖ ธ.ค.๒๕๕๗ 
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช ๒๔๗๕