วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประเด็นคดีรับจำนำข้าว

แผนประทุษกรรม คดีทุจริตการรับจำนำข้าว
      @  ขั้นตอนขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร     มี ๓ รูปแบบ
            ๑.  การสวมสิทธิเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไม่ได้เป็นเกษตรกรแต่อ้างสิทธิว่าเป็นเกษตรกร การสวมสิทธิเกษตรกรเกิดขึ้นได้ ๓ วิธี คือ สวมตัว สวมที่นา และสวมข้าว
            ๒.  ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตัวจริง แต่แจ้งพื้นที่ปลูกข้าวเกินความจริง เพื่อเอาสิทธิที่จะได้โควต้า
            ๓.  เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าว นำพื้นที่ที่ไม่ได้ปลูกข้าวมาขึ้นทะเบียน

     @  ขั้นตอนการการจำนำข้าว ณ จุดรับจำนำ หรือโรงสี     มี ๖ รูปแบบ
          ๑.  เกษตรกรมีข้าวไม่เต็มจำนวนมาจำนำ แต่มีนายหน้านำข้าวเปลือกนอกระบบมาสวมแทน เพราะเป็นผลจากการแจ้งพื้นที่เกินในขั้นตอนแรก แล้วแบ่งเงินกัน
          ๒.  เกษตรกรขายข้าวไปก่อน(ตกเขียว) ด้วยเหตุจำเป็นส่วนตัว ทำให้ไม่มีข้าวไปจำนำ นายหน้าจึงนำข้าวไปสวมแทน
          ๓.  จนท. ร่วมกับโรงสี ออกใบประทวนเท็จ ให้แก่บุคคลที่ถูกสวมว่าเป็นเกษตรกร 
          ๔.  โรงสีร่วมกับ จนท. โกงน้ำหนัก ความชื้น และสิ่งเจือปน (กรณีนี้เกษตรกรได้รับความเสียหายโดยตรง)
          ๕.  โรงสีกับ จนท. นำข้าวจาก ตปท. มาสวมสิทธิ
          ๖.  เปิดจุดรับจำนำอีกที่หนึ่ง เกษตรกรนำข้าวที่มาจำนำเกินสิทธิ จึงไม่มีสิทธิจำนำได้อีก แต่มีการออกใบประทวนให้อีกที่หนึ่งให้แทน

   @  ขั้นตอนเก็บข้าวไว้ที่โรงสี      มี ๓ รูปแบบ
         ๑.  สถานที่เก็บไม่ได้มาตรฐาน กรณีนี้ จนท.ต้องตรวจสภาพความพร้อมก่อนเข้าโครงการ ถ้าสถานที่เก็บไม่ดีก็ทำให้ข้าวเปลือกเสียหาย เมื่อสีข้าวส่งไปเก็บโกดังกลาง ก็จะได้ข้าวที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่เอกสารกลับบอกว่าเป็นข้าวดีหรือมีคุณภาพ 
         ๒.  โรงสีไม่ได้แยกเก็บข้าวที่อยู่ในโครงการไว้ต่างหาก เมื่อ จนท. ไปตรวจ เจ้าของโรงสีก็แอบอ้างเอาข้าวกองอื่นว่าเป็นข้าวของโครงการ
         ๓.  โรงสีเอาข้าวของโครงการไปขายซึ่งเป็นข้าวใหม่หรือข้าวดี แล้วจะเอาข้าวที่ไม่ได้มาตรฐานมาสวมแทนภายหลัง ทำให้เมื่อไปตรวจแล้วมีข้าวไม่ครบ

   @  ขั้นตอนการส่งมอบและเก็บรักษาข้าวในโกดังกลาง  (ในขั้นตอนนี้  อคส. หรือ อตก. จะมีคำสั่งให้สีข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร มีการแยกส่งต้นข้าว หรือปลายข้าวไปยังโกดังกลาง)   มี ๗ รูปแบบ
         ๑.  นำข้าวสารที่คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานส่งเก็บไว้ในโกดังกลาง เนื่องมาจาก โกดังที่เก็บมาก่อนไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น
         ๒.  นำข้าวสารผิดประเภทส่งเก็บ เช่น บอกว่าเป็นข้าว ๕% แต่ปรากฏว่า ในกระสอบกลายเป็นปลายข้าว ราคาจะต่างกัน
         ๓.  นำข้าวสารไม่ตรงตามจำนวนส่งเก็บ หรือไม่ครบจำนวน เช่น ทำโครงเหล็กยัดไส้ในกองข้าวสาร
         ๔.  ข้าวสารส่งเก็บมีการล็อกกุญแจ ๓ ฝ่ายแล้ว ซึ่งจะเปิดเฉพาะตอนรมยา หรือระบายข้าวออก มีการลักลอบเอาข้าวไปขาย 
         ๕.  โกดังกลางชำรุดเสียหาย ทำให้ข้าวเสื่อมคุณภาพ เช่น ฝนรั่วใส่ข้าวแล้วเจ้าของโกดังไม่แจ้งแต่แรกทำให้เชื้อราลุกลามทำข้าวเสียหายทั้งกอง เซอร์เวเย่อร์อาจจะต้องรับผิดชอบ
         ๖.  การดูแลรักษาไม่ตรงตามมาตรฐาน ทั้งปริมาณและคุณภาพ
         ๗.  การระบายข้าวสารออกจากโกดังกลาง เช่น การทำข้าวสารธงฟ้าราคาถูก การจำหน่ายข้าวสารให้แก่เอกชนภายในประเทศ การจำหน่ายให้แก่เอกชน ตปท. เป็นต้น