หนังสือภายนอก
|
หนังสือภายใน
|
บันทึก
|
1. ติดต่อระหว่างกระทรวงหรือ
ติดต่อกับหน่วยงาน , บุคคลอื่น |
1. ติดต่อระหว่างกรมหรือเทียบเท่าในสังกัดกระทรวงเดียวกัน
|
1. ติดต่อภายในกรมเดียวกัน
|
2. ผู้ลงนามเป็นหัวหน้าส่วน
ราชการระดับกระทรวง หรือ ผู้ได้รับมอบหมาย |
2. ผู้ลงนามเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือผู้ได้รับมอบหมาย
|
2. หัวหน้าส่วนราชการหรือ เจ้าหน้าที่ก็สามารถลงนามได้
|
3. ใช้รูปแบบหนังสือภายนอก
ใช้กระดาษครุฑ มีเรื่อง เรียน และอ้างถึง สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี) |
3. ใช้รูปแบบหนังสือภายใน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ มีเฉพาะเรื่องกับเรียน
|
3. ใช้กระดาษบันทึกข้อความ หรือ
กระดาษอื่นก็ได้ อาจไม่มีเรื่องก็ได้ |
4. เป็นพิธีการเต็มรูปแบบ
ออกเลขที่ทุกครั้ง |
4. เป็นทางการ ออกเลขที่ แต่เป็นพิธีการน้อยกว่า
|
4. เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
ก็ได้ ออกเลขที่ภายใน หรือไม่มีเลขที่ก็ได้ |
5. ต้องพิมพ์ให้เรียบร้อย
|
5. ต้องพิมพ์ให้เรียบร้อย
|
5. พิมพ์หรือเขียนด้วยลายมือก็ได้
|
6. มีสำเนาคู่ฉบับและสำเนา
ครบถ้วน |
6. มีสำเนาคู่ฉบับและสำเนาครบถ้วน
|
6. อาจไม่มีสำเนาก็ได้
|
ประเด็นการสอบสวนและงานสารบรรณ
สำหรับพนักงานสอบสวนในการสอบปากคำผู้กล่าวหา พยาน และผู้ต้องหา ได้ครบประเด็นตามองค์ประกอบของความผิดในคดีต่าง ๆ
วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560
เปรียบเทียบหนังสือภายนอก หนังสือภายใน และบันทึก
จัดเรียงบทความ
ประเด็นการสอบสวน
- คดีค้ามนุษย์ (เป็นธุระจัดหาค้าประเวณี)- คดีคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมือง
- คดีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
- คดีฉ้อโกงและแชร์ลูกโซ่
- คดีบัตรอิเล็กทรอนิกส์
- คดีปลอมเอกสาร
- คดีรับจำนำข้าว
- คดีหมิ่นประมาท
หนังสือติดต่อราชการ
- การเขียนรายงานหรือเรื่องนำเรียนเพื่อทราบ- หนังสือภายใน
- เปรียบเทียบหนังสือภายนอก ภายใน และบันทึก
ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
- วิธีการทำสำนวนการสอบสวนให้ง่ายขึ้น- คำพิพากษาคดีปล่อยเงินกู้และเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ประเด็นคดีค้ามนุษย์ (เป็นธุระจัดหาค้าประเวณี)
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑
"มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี
การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคน
ลงเป็นทาส การนำคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า
หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามการแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบ"
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.๒๕๓๙
"มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
"การค้าประเวณี หมายความว่า การยอมรับการกระทำชำเรา หรือการยอมรับการกระทำอื่นใด หรือการกระทำอื่นใดเพื่อสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ของผู้อื่น อันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือเพื่อประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ยอมรับการกระทำและผู้กระทำจะเป็นบุคคลเพศเดียวกันหรือคนละเพศ”
กล่าวคือ การกระทำความผิดฐานค้าประเวณีนั้น แม้ว่าผู้ถูกกระทำชำเราหรือผู้กระทำชำเราได้สมัครใจยอมรับการกระทำ โดยไม่มีการบังคับ ขู่เข็ญ ก็เป็นความผิดฐานค้าประเวณีได้ แต่ถ้าจะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ได้นั้น ถ้าผู้ถูกกระทำชำเรามีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จะเข้าความผิดฐานค้ามนุษย์ได้นั้นผู้นั้นต้องถูกข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ฯลฯ ซึ่งหมายถึงการไม่สมัครใจนั่นเองตามมาตรา ๖ (๑) แต่ถ้าเป็นเด็กอายุยังไม่ถึง ๑๘ ปี แม้ไม่ต้องมีการข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ก็เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์แล้ว ตามมาตรา ๖ (๒) ทั้งนี้ การแสวงหาประโยชน์เพื่อประโยชน์ทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว
"มาตรา ๙ ผู้ใดเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งบุคคลใด เพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีแม้บุคคลนั้นจะยินยอมก็ตาม และไม่ว่าการกระทำต่าง ๆ อันประกอบเป็นความผิดนั้นจะได้กระทำภายในหรือนอกราชอาณาจักร (ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท)
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม เป็นการกระทำโดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม หนึ่งในสาม แล้วแต่กรณี
ผู้ใดเพื่อให้มีการกระทำการค้าประเวณี รับตัวบุคคลซึ่งตนรู้อยู่ว่ามีผู้จัดหา ล่อไป หรือชักพาไปตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม หรือวรรคสี่ หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ผู้กระทำต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม หรือวรรคสี่ แล้วแต่กรณี"
"มาตรา ๑๓ ถ้าบิดา มารดา หรือผู้ปกครองของผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ หรือมาตรา ๗ มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลผู้อยู่ในความปกครอง กระทำการค้าประเวณี / เมื่อคณะกรรมการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพมีคำขอ / ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลให้ถอนอำนาจปกครองของบิดามารดา หรือผู้ปกครองของผู้นั้นเสีย และแต่งตั้งผู้ปกครองแทนบิดามารดา หรือผู้ปกครองนั้น"
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑
"มาตรา ๓๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้เสียหายระหว่างที่อยู่ในความดูแลไม่ว่าบุคคลนั้นจะพำนักอยู่ ณ ที่ใด ไม่ว่าก่อน ขณะ หรือหลังการดำเนินคดี ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของบุคคลในครอบครัวของผู้เสียหายด้วย
ในกรณีที่ผู้เสียหายจะให้การหรือเบิกความเป็นพยานในความผิดฐานค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นพยานได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา"
- ในการถามปากคำผู้เสียหายที่เป็นเด็ก ให้ดำเนินการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๓ ทวิ โดยก่อนถามปากคำให้แจ้งสิทธิให้เด็กทราบ คดีนี้เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ และผู้เสียหายเป็นหญิง ให้พนักงานสอบสวนหญิงเป็นผู้สอบสวน เว้นแต่มีผู้เสียหายนั้นยินยอมหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ อาจจัดหาบุคคลที่เด็กไว้วางใจหรือร้องขอให้เข้าร่วมฟังในการถามปากคำนั้นด้วย
- ชื่อ อายุ ที่อยู่ บิดามารดา ประวัติส่วนตัว เช่น อาชีพ รายได้ การศึกษา สถานภาพครอบครัว ใครเป็นผู้ปกครองดูแล
- พยานเกิดเมื่อใด มีอายุเท่าใด
- พยานรู้จักกับนาย... มานานแล้วหรือไม่ อย่างไร
- นาย.... ชักจูงพยานมาด้วยเหตุใด พยานต้องทำอย่างไร เพื่ออะไร กับใคร ที่ไหน เมือใด ได้ทำการตกลงยินยอมรับเงื่อนไขหรือรับค่าตอบแทนในการนี้อย่างใด มีการใช้กำลังบังคับ ขู่เข็ญให้กระทำหรือไม่ อย่างไร
- นาย... เคยให้พยานกระทำแบบนี้มาแล้วกี่ครั้ง แต่ละครั้งเป็นอย่างไร
- พยานเคยมาสถานที่เกิดเหตุนี้แล้วกี่ครั้ง ทราบหรือไม่ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของสถานที่ เคยพบปะกับเจ้าของสถานที่หรือไม่ เจ้าของสถานที่รู้เห็นในเรื่องแบบนี้ด้วยหรือไม่
- นอกจากนาย.. แล้ว มีผู้ใดสมคบ โดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดตามมาตรา ๖
- ให้ พงส. ยื่นคำร้องขอต่อพนักงานอัยการ เพื่อให้มีการสืบพยานไว้ก่อนล่วงหน้า ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๓๑ ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา ๒๓๗ ทวิ โดยอ้างเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
- ให้สอบปากคำ บิดามารดา ผู้ปกครอง บุคคลที่รู้เห็นการติดต่อระหว่างผู้กระทำผิดกับผู้เสียหาย
- ให้ตรวจสอบหลักฐานการติดต่อทางโทรศัพท์ หรือตรวจค้นเพื่อหาหลักฐานทางการเงินและธนาคาร , บันทึกส่วนตัว , บัญชีรายรับ รายจ่าย เพื่อประโยชน์การพิจารณาดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒
- นำภาพถ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการล่อซื้อ รวมเข้าสำนวน
- ส่งตัวผู้เสียหายให้แพทย์ตรวจ
- พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ และสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๓๔
- ส่งตัวผู้เสียหายไปรับการคุ้มครองสวัสดิภาพในหน่วยงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ ใช้วิธีการคุ้มครองพยานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๕๖ และระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
- ฐานความผิดที่เกี่ยวข้อง คือ ฐานค้ามนุษย์ ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔, ๖ เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีโดยมิชอบ เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใด จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ ซึ่งเด็ก
- พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๙ ให้ใช้ระบบไต่สวนและเป็นไปโดยรวดเร็ว และให้ศาลนำสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนมาเป็นแนวทางในการพิจารณา จึงขอให้ พงส. ทำสำนวนการสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบด้วย
"มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี
การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคน
ลงเป็นทาส การนำคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า
หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามการแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบ"
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.๒๕๓๙
"มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
"การค้าประเวณี หมายความว่า การยอมรับการกระทำชำเรา หรือการยอมรับการกระทำอื่นใด หรือการกระทำอื่นใดเพื่อสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ของผู้อื่น อันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือเพื่อประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ยอมรับการกระทำและผู้กระทำจะเป็นบุคคลเพศเดียวกันหรือคนละเพศ”
กล่าวคือ การกระทำความผิดฐานค้าประเวณีนั้น แม้ว่าผู้ถูกกระทำชำเราหรือผู้กระทำชำเราได้สมัครใจยอมรับการกระทำ โดยไม่มีการบังคับ ขู่เข็ญ ก็เป็นความผิดฐานค้าประเวณีได้ แต่ถ้าจะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ได้นั้น ถ้าผู้ถูกกระทำชำเรามีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จะเข้าความผิดฐานค้ามนุษย์ได้นั้นผู้นั้นต้องถูกข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ฯลฯ ซึ่งหมายถึงการไม่สมัครใจนั่นเองตามมาตรา ๖ (๑) แต่ถ้าเป็นเด็กอายุยังไม่ถึง ๑๘ ปี แม้ไม่ต้องมีการข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ก็เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์แล้ว ตามมาตรา ๖ (๒) ทั้งนี้ การแสวงหาประโยชน์เพื่อประโยชน์ทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว
"มาตรา ๙ ผู้ใดเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งบุคคลใด เพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีแม้บุคคลนั้นจะยินยอมก็ตาม และไม่ว่าการกระทำต่าง ๆ อันประกอบเป็นความผิดนั้นจะได้กระทำภายในหรือนอกราชอาณาจักร (ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท)
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม เป็นการกระทำโดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม หนึ่งในสาม แล้วแต่กรณี
ผู้ใดเพื่อให้มีการกระทำการค้าประเวณี รับตัวบุคคลซึ่งตนรู้อยู่ว่ามีผู้จัดหา ล่อไป หรือชักพาไปตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม หรือวรรคสี่ หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ผู้กระทำต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม หรือวรรคสี่ แล้วแต่กรณี"
"มาตรา ๑๓ ถ้าบิดา มารดา หรือผู้ปกครองของผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ หรือมาตรา ๗ มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลผู้อยู่ในความปกครอง กระทำการค้าประเวณี / เมื่อคณะกรรมการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพมีคำขอ / ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลให้ถอนอำนาจปกครองของบิดามารดา หรือผู้ปกครองของผู้นั้นเสีย และแต่งตั้งผู้ปกครองแทนบิดามารดา หรือผู้ปกครองนั้น"
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑
"มาตรา ๓๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้เสียหายระหว่างที่อยู่ในความดูแลไม่ว่าบุคคลนั้นจะพำนักอยู่ ณ ที่ใด ไม่ว่าก่อน ขณะ หรือหลังการดำเนินคดี ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของบุคคลในครอบครัวของผู้เสียหายด้วย
ในกรณีที่ผู้เสียหายจะให้การหรือเบิกความเป็นพยานในความผิดฐานค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นพยานได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา"
ประเด็นการสอบสวนพยานที่เป็นเด็ก
- จัดให้มีการคัดกรองเหยื่อหรือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ตามแบบสัมภาษณ์ และนำมาประกอบสำนวน- ในการถามปากคำผู้เสียหายที่เป็นเด็ก ให้ดำเนินการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๓ ทวิ โดยก่อนถามปากคำให้แจ้งสิทธิให้เด็กทราบ คดีนี้เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ และผู้เสียหายเป็นหญิง ให้พนักงานสอบสวนหญิงเป็นผู้สอบสวน เว้นแต่มีผู้เสียหายนั้นยินยอมหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ อาจจัดหาบุคคลที่เด็กไว้วางใจหรือร้องขอให้เข้าร่วมฟังในการถามปากคำนั้นด้วย
- ชื่อ อายุ ที่อยู่ บิดามารดา ประวัติส่วนตัว เช่น อาชีพ รายได้ การศึกษา สถานภาพครอบครัว ใครเป็นผู้ปกครองดูแล
- พยานเกิดเมื่อใด มีอายุเท่าใด
- พยานรู้จักกับนาย... มานานแล้วหรือไม่ อย่างไร
- นาย.... ชักจูงพยานมาด้วยเหตุใด พยานต้องทำอย่างไร เพื่ออะไร กับใคร ที่ไหน เมือใด ได้ทำการตกลงยินยอมรับเงื่อนไขหรือรับค่าตอบแทนในการนี้อย่างใด มีการใช้กำลังบังคับ ขู่เข็ญให้กระทำหรือไม่ อย่างไร
- นาย... เคยให้พยานกระทำแบบนี้มาแล้วกี่ครั้ง แต่ละครั้งเป็นอย่างไร
- พยานเคยมาสถานที่เกิดเหตุนี้แล้วกี่ครั้ง ทราบหรือไม่ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของสถานที่ เคยพบปะกับเจ้าของสถานที่หรือไม่ เจ้าของสถานที่รู้เห็นในเรื่องแบบนี้ด้วยหรือไม่
- นอกจากนาย.. แล้ว มีผู้ใดสมคบ โดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดตามมาตรา ๖
- ให้ พงส. ยื่นคำร้องขอต่อพนักงานอัยการ เพื่อให้มีการสืบพยานไว้ก่อนล่วงหน้า ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๓๑ ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา ๒๓๗ ทวิ โดยอ้างเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
- ให้สอบปากคำ บิดามารดา ผู้ปกครอง บุคคลที่รู้เห็นการติดต่อระหว่างผู้กระทำผิดกับผู้เสียหาย
- ให้ตรวจสอบหลักฐานการติดต่อทางโทรศัพท์ หรือตรวจค้นเพื่อหาหลักฐานทางการเงินและธนาคาร , บันทึกส่วนตัว , บัญชีรายรับ รายจ่าย เพื่อประโยชน์การพิจารณาดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒
- นำภาพถ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการล่อซื้อ รวมเข้าสำนวน
- ส่งตัวผู้เสียหายให้แพทย์ตรวจ
- พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ และสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๓๔
- ส่งตัวผู้เสียหายไปรับการคุ้มครองสวัสดิภาพในหน่วยงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ ใช้วิธีการคุ้มครองพยานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๕๖ และระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
- ฐานความผิดที่เกี่ยวข้อง คือ ฐานค้ามนุษย์ ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔, ๖ เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีโดยมิชอบ เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใด จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ ซึ่งเด็ก
- พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๙ ให้ใช้ระบบไต่สวนและเป็นไปโดยรวดเร็ว และให้ศาลนำสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนมาเป็นแนวทางในการพิจารณา จึงขอให้ พงส. ทำสำนวนการสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบด้วย
วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
วิธีการทำสำนวนการสอบสวนให้ง่ายขึ้น
การทำงานต่าง ๆ ก็ต้องการความสะดวกรวดเร็ว การสอบสวนก็เช่นเดียวกัน ย่อมมีเคล็ดลับวิธีการทำให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว และรู้สึกว่าทำได้ง่าย ๆ ไม่อยากเลย เพียงแต่ขอให้ทำตามวิธีการและขั้นตอน ดังต่อไปนี้
๑. เรียงลำดับความสำคัญของคดี เช่น คดีที่ผู้ต้องหาผัดฟ้องฝากขัง ให้ทำเป็นอันดับแรกก่อนคดีอื่น เพราะระยะเวลาผัดฟ้อง ฝากขัง นั้นสั้นมาก และจำเป็นต้องตรวจสอบวันครบกำหนดฝากขัง อยู่เสมอ แล้วจึงทำสำนวนคดีที่ผู้ต้องหาประกันตัว ผู้ต้องหาหลบหนี และสำนวนไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิด ตามลำดับ เพราะมีระยะเวลาให้ทำการสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งมากขึ้นตามลำดับ ส่วนคดีที่ส่งพนักงานอัยการไปแล้ว เช่น สำนวนคดียาเสพติดที่คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มีความเห็นว่าฟื้นฟูฯ ไม่ผ่าน นั้น สำนวนประเภทนี้ส่วนใหญ่อยู่ที่พนักงานอัยการแล้ว เพียงแต่พนักงานสอบสวนต้องติดตามตัวผู้ต้องหาไปส่งให้พนักงานอัยการเพื่อฟ้องต่อศาล สำนวนประเภทนี้พนักงานสอบสวนมักจะเก็บไว้ทำหลังสุด หรือให้ความสำคัญน้อย เว้นแต่ คดีฟื้นฟูฯ ที่มีตัวถูกควบคุมอยู่แล้ว ต้องส่งฟ้องโดยเร็วนั้น ต้องรีบทำให้เร็วที่สุด
๒. เรียงลำดับความสำคัญของบุคคล เช่น ในคดีผู้ต้องหาฝากขัง คดีผู้ต้องหาฟื้นฟู คดีฟ้องวาจา ตลอดจนคดีที่เอกสารในสำนวนการสอบสวนต้องมีลายมือชื่อของผู้ต้องหา ให้รีบจัดทำเป็นอันดับแรก เพราะถ้าส่งผู้ต้องหาไปฝากขังหรือให้ประกันตัวแล้ว โอกาสที่จะให้ผู้ต้องหาลงลายมือชื่อย่อมลำบากขึ้น และในการฝากขัง ตลอดจน พยานที่อยู่ต่างประเทศ ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือที่ห่างไกล หากปล่อยให้เนิ่นช้าก็จะไม่สามารถติดตามมาสอบปากคำ หรือเป็นพยานศาล ได้ ให้รีบเร่งทำการสอบปากคำไว้ก่อน ถ้าหากเป็นคดีสำคัญก็ต้องทำหนังสือขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอสืบพยานไว้ล่วงหน้า
๓. เรียงลำดับความสำคัญของเอกสาร เช่น การทำหนังสือติดต่อราชการ เพื่อขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ในการตรวจสอบ หรือการทำหนังสือส่งของกลางไปตรวจพิสูจน์ ให้รีบดำเนินการเป็นอันดับแรก เพราะการตรวจสอบและตรวจพิสูจน์ย่อมใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น ถ้าพนักงานสอบสวนเพิ่งมาทำหนังสือและเร่งรัดขอความร่วมมือในภายหลังแล้ว อาจไม่ทันเวลา
๔. ให้ความสำคัญในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ เนื่องจาก สถานที่เกิดเหตุเป็นสิ่งที่จะพบวัตถุพยานต่าง ๆ ที่คนร้ายได้ทิ้งร่องรอยต่าง ๆ เอาไว้ การรีบเร่งตรวจสถานที่เกิดเหตุให้ละเอียดถี่ถ้วนเป็นอันดับแรก จะทำให้ทราบถึงแผนประทุษกรรมคนร้าย สามารถนำวัตถุพยานที่ตรวจพบในที่เกิดเหตุ ไปสืบสวนสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิดและเป็นพยานหลักฐานยืนยันการกระทำความผิดได้ โดยเฉพาะคดีจราจรทางบก แม้ว่าพนักงานสอบสวนเคยพบเห็นเส้นทางในท้องที่ของตนมาโดยละเอียด แต่การไม่ไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ อาจทำให้การวินิจฉัยผิดพลาด จนไม่สามารถแก้ไขปัญหาตรงโต๊ะทำงานได้ ดังนั้น จึงขอให้ตรวจวัดสถานที่เกิดเหตุให้ละเอียด ถ่ายภาพเอาไว้เป็นหลักฐานให้มากที่สุด ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือการสามารถนำมาใช้แทนกล้องถ่ายรูปได้หมดแล้ว และไม่ต้องกลัวเปลืองฟิล์มหรือค่าล้างฟิล์มอีกต่อไป ถ้าหากดูภาพและแผนที่ยังไม่เข้าใจก็ให้ออกไปตรวจที่เกิดเหตุอีกครั้งเป็นรอบที่สอง แต่ต้องพึงระลึกไว้ว่า การตรวจสถานที่เกิดเหตุช้า หรือการไปตรวจสถานที่เกิดเหตุรอบที่สอง พยานหลักฐานที่เคยมีอยู่เดิมนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไป และถ้าหากเป็นคดีที่ซับซ้อนก็ให้ขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานมาร่วมตรวจที่เกิดเหตุตั้งแต่แรกด้วย
๕. มีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าก่อนการสอบปากคำบุคคล เนื่องจาก การกำหนดประเด็นคำถามให้เข้าหลักกฎหมายเป็นเรื่องสำคัญ และจะช่วยให้การสอบปากคำสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องมาคิดประเด็นคำถามหรือทบทวนว่าลืมถามประเด็นใดในขณะกำลังถามปากคำนั้นอีก เพราะถ้าไม่ได้เตรียมประเด็นคำถามมาก่อน จะทำให้เราพลาดคำถามในประเด็นที่สำคัญที่ต้องการถามไป และคงจะไม่สะดวกที่จะเรียกบุคคลมาพบเพื่อให้ปากคำเพิ่มเติมอีก การจะสอบปากคำบุุคคลใด ถ้าหากสามารถพิมพ์แบบฟอร์มหรือคำให้การ รวมทั้งประเด็นคำถามของผู้ให้ถ้อยคำที่ต้องการถามปากคำเอาไว้ก่อนได้จะเป็นการดีที่สุด อีกทั้งการคาดเดาถึงคำตอบที่จะได้รับ การเตรียมการไว้ล่วงหน้าจะช่วยทำให้เราสามารถกำหนดประเด็นคำถามต่อไปได้อีก
๑. เรียงลำดับความสำคัญของคดี เช่น คดีที่ผู้ต้องหาผัดฟ้องฝากขัง ให้ทำเป็นอันดับแรกก่อนคดีอื่น เพราะระยะเวลาผัดฟ้อง ฝากขัง นั้นสั้นมาก และจำเป็นต้องตรวจสอบวันครบกำหนดฝากขัง อยู่เสมอ แล้วจึงทำสำนวนคดีที่ผู้ต้องหาประกันตัว ผู้ต้องหาหลบหนี และสำนวนไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิด ตามลำดับ เพราะมีระยะเวลาให้ทำการสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งมากขึ้นตามลำดับ ส่วนคดีที่ส่งพนักงานอัยการไปแล้ว เช่น สำนวนคดียาเสพติดที่คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มีความเห็นว่าฟื้นฟูฯ ไม่ผ่าน นั้น สำนวนประเภทนี้ส่วนใหญ่อยู่ที่พนักงานอัยการแล้ว เพียงแต่พนักงานสอบสวนต้องติดตามตัวผู้ต้องหาไปส่งให้พนักงานอัยการเพื่อฟ้องต่อศาล สำนวนประเภทนี้พนักงานสอบสวนมักจะเก็บไว้ทำหลังสุด หรือให้ความสำคัญน้อย เว้นแต่ คดีฟื้นฟูฯ ที่มีตัวถูกควบคุมอยู่แล้ว ต้องส่งฟ้องโดยเร็วนั้น ต้องรีบทำให้เร็วที่สุด
๒. เรียงลำดับความสำคัญของบุคคล เช่น ในคดีผู้ต้องหาฝากขัง คดีผู้ต้องหาฟื้นฟู คดีฟ้องวาจา ตลอดจนคดีที่เอกสารในสำนวนการสอบสวนต้องมีลายมือชื่อของผู้ต้องหา ให้รีบจัดทำเป็นอันดับแรก เพราะถ้าส่งผู้ต้องหาไปฝากขังหรือให้ประกันตัวแล้ว โอกาสที่จะให้ผู้ต้องหาลงลายมือชื่อย่อมลำบากขึ้น และในการฝากขัง ตลอดจน พยานที่อยู่ต่างประเทศ ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือที่ห่างไกล หากปล่อยให้เนิ่นช้าก็จะไม่สามารถติดตามมาสอบปากคำ หรือเป็นพยานศาล ได้ ให้รีบเร่งทำการสอบปากคำไว้ก่อน ถ้าหากเป็นคดีสำคัญก็ต้องทำหนังสือขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอสืบพยานไว้ล่วงหน้า
๓. เรียงลำดับความสำคัญของเอกสาร เช่น การทำหนังสือติดต่อราชการ เพื่อขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ในการตรวจสอบ หรือการทำหนังสือส่งของกลางไปตรวจพิสูจน์ ให้รีบดำเนินการเป็นอันดับแรก เพราะการตรวจสอบและตรวจพิสูจน์ย่อมใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น ถ้าพนักงานสอบสวนเพิ่งมาทำหนังสือและเร่งรัดขอความร่วมมือในภายหลังแล้ว อาจไม่ทันเวลา
๔. ให้ความสำคัญในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ เนื่องจาก สถานที่เกิดเหตุเป็นสิ่งที่จะพบวัตถุพยานต่าง ๆ ที่คนร้ายได้ทิ้งร่องรอยต่าง ๆ เอาไว้ การรีบเร่งตรวจสถานที่เกิดเหตุให้ละเอียดถี่ถ้วนเป็นอันดับแรก จะทำให้ทราบถึงแผนประทุษกรรมคนร้าย สามารถนำวัตถุพยานที่ตรวจพบในที่เกิดเหตุ ไปสืบสวนสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิดและเป็นพยานหลักฐานยืนยันการกระทำความผิดได้ โดยเฉพาะคดีจราจรทางบก แม้ว่าพนักงานสอบสวนเคยพบเห็นเส้นทางในท้องที่ของตนมาโดยละเอียด แต่การไม่ไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ อาจทำให้การวินิจฉัยผิดพลาด จนไม่สามารถแก้ไขปัญหาตรงโต๊ะทำงานได้ ดังนั้น จึงขอให้ตรวจวัดสถานที่เกิดเหตุให้ละเอียด ถ่ายภาพเอาไว้เป็นหลักฐานให้มากที่สุด ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือการสามารถนำมาใช้แทนกล้องถ่ายรูปได้หมดแล้ว และไม่ต้องกลัวเปลืองฟิล์มหรือค่าล้างฟิล์มอีกต่อไป ถ้าหากดูภาพและแผนที่ยังไม่เข้าใจก็ให้ออกไปตรวจที่เกิดเหตุอีกครั้งเป็นรอบที่สอง แต่ต้องพึงระลึกไว้ว่า การตรวจสถานที่เกิดเหตุช้า หรือการไปตรวจสถานที่เกิดเหตุรอบที่สอง พยานหลักฐานที่เคยมีอยู่เดิมนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไป และถ้าหากเป็นคดีที่ซับซ้อนก็ให้ขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานมาร่วมตรวจที่เกิดเหตุตั้งแต่แรกด้วย
๕. มีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าก่อนการสอบปากคำบุคคล เนื่องจาก การกำหนดประเด็นคำถามให้เข้าหลักกฎหมายเป็นเรื่องสำคัญ และจะช่วยให้การสอบปากคำสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องมาคิดประเด็นคำถามหรือทบทวนว่าลืมถามประเด็นใดในขณะกำลังถามปากคำนั้นอีก เพราะถ้าไม่ได้เตรียมประเด็นคำถามมาก่อน จะทำให้เราพลาดคำถามในประเด็นที่สำคัญที่ต้องการถามไป และคงจะไม่สะดวกที่จะเรียกบุคคลมาพบเพื่อให้ปากคำเพิ่มเติมอีก การจะสอบปากคำบุุคคลใด ถ้าหากสามารถพิมพ์แบบฟอร์มหรือคำให้การ รวมทั้งประเด็นคำถามของผู้ให้ถ้อยคำที่ต้องการถามปากคำเอาไว้ก่อนได้จะเป็นการดีที่สุด อีกทั้งการคาดเดาถึงคำตอบที่จะได้รับ การเตรียมการไว้ล่วงหน้าจะช่วยทำให้เราสามารถกำหนดประเด็นคำถามต่อไปได้อีก
วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560
หนังสือภายใน
หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือที่ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้เป็นกระดาษบันทึกข้อความตามแบบ ที่กำหนดไว้ ซึ่งแตกต่างจากหนังสือภายนอก บันทึกข้อความจะกล่าวถึง อ้างถึงและสิ่งที่ส่งมาด้วยไว้ในส่วนข้อความ (ถ้ามี) จะไม่ยกขึ้นเป็นหัวข้อ และที่สาคัญคือหนังสือภายในจะไม่มีคำลงท้าย เป็นต้น
หนังสือภายในประกอบไปด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน คือ
1 ส่วนหัวหนังสือ จะใช้กระดาษที่มีคำว่า บันทึกข้อความ (อยู่ตรงกึ่งกลางกระดาษ) และมีครุฑ ขนาด 1.5 ซม. อยู่ด้านซ้ายมือเหนือส่วนราชการ และมีส่วนสาคัญประกอบด้วย
1.1 ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ ถ้าส่วนราชการ ที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมขึ้นไป ให้ใส่ชื่อส่วนราชการทั้งระดับกรมและสานัก/กอง ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ต่ำกว่ากรมลงมา ให้ใส่ชื่อสานัก/กอง พร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และหมายเลขภายใน (ถ้ามี)
1.2 ที่ ให้ใส่รหัสด้วยพยัญชนะ (ตัวย่อส่วนราชการ) เลขประจาของเจ้าของเรื่อง และเลขทะเบียนหนังสือส่งเรียงตามลาดับจนสิ้นปีปฏิทินแล้วเริ่มนับใหม่ในปีต่อไป เช่น ที่ พณ 0201/0056 เช่นเดียวกับหนังสือภายนอก
1.3 วันที่ ให้ใส่ตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราช ที่ออกหนังสือ เช่น 16 เมษายน 2556 เช่นเดียวกับหนังสือภายนอก
1.4 เรื่อง ให้ใส่เรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่องโดยปกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม เช่นเดียวกับหนังสือภายนอก
1.5 คำขึ้นต้น ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือ (รายละเอียดกำหนดไว้ท้ายภาคผนวก 2 ของระเบียบงานสารบรรณ) ตามด้วยชื่อตำแหน่งของผู้ลงนามในหนังสือที่มีมาถึง หรือชื่อบุคคลโดยตรง กรณีที่มีถึงตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ เช่นเดียวกับหนังสือภายนอก
2. ข้อความ ให้มีสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย ประกอบไปด้วย
2.1 ต้นเรื่องหรือเรื่องเดิม กรณีเป็นเรื่องใหม่ยังไม่เคยมีการดำเนินการในเรื่องนั้นมาก่อนให้ใช้ “ต้นเรื่อง” ถ้าเรื่องนั้นมีการดำเนินการมาก่อนแล้วให้ใช้ “เรื่องเดิม” โดยสรุปความเป็นมาของเรื่องเดิมอย่างย่อว่าเป็นมาเป็นอย่างไร
2.2 ข้อเท็จจริง เป็นการอธิบายให้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องหรือมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเดิม
2.3 ข้อกฎหมาย (ถ้ามี) เป็นการอธิบายเนื้อหาของกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยสังเขป โดยไม่ต้องคัดลอกมาทั้งหมดเป็นรายมาตรา แต่ในกรณีที่ไม่มีข้อกฎหมายก็ไม่ต้องมีข้อนี้
2.4 ข้อพิจารณา เป็นการสรุปข้อสังเกตที่สาคัญที่ควรหยิบยกมาให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ กรณีที่เป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2.5 ข้อเสนอ เป็นการชี้ประเด็นให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการ เช่น เพื่อทราบ
เพื่อให้ความเห็นชอบ เพื่ออนุมัติ เพื่อลงนาม ฯลฯ
3. ลงชื่อและตำแหน่ง เช่นเดียวกับหนังสือภายนอก
ขนาดครุฑของหนังสือภายในหรือบันทึกที่ใช้กระดาษบันทึกข้อความ กำหนดขนาดครุฑเท่ากับ 1.5 เซนติเมตร และใช้สีดา ขนาดของหัวกระดาษ “บันทึกข้อความ” ให้ใช้ตัวอักษรขนาด 30 – 33 พ. ตัวหนา ส่วนหัวหนังสือ ประกอบด้วย ส่วนราชการ ที่ เรื่อง ใช้ตัวอักษรขนาด 16 พ. ตัวหนา และเรียนใช้ตัวอักษรปกติ ชนิดและขนาดตัวอักษร ใช้ตัวอักษร (Font) TH SarabunPSK๙ ขนาด 16 พ. การเขียนชื่อหน่วยงานจะต้องสอดคล้องกับตาแหน่งผู้ลงนาม ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือ กล่าวคือ ผู้ใดลงนามชื่อหน่วยงานนั้นจะอยู่ลำดับต้น ส่วนเจ้าของเรื่องที่เป็นส่วนราชการรองจะอยู่ลำดับหลัง ต่อด้วยโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่องนั้น
หนังสือภายในประกอบไปด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน คือ
1 ส่วนหัวหนังสือ จะใช้กระดาษที่มีคำว่า บันทึกข้อความ (อยู่ตรงกึ่งกลางกระดาษ) และมีครุฑ ขนาด 1.5 ซม. อยู่ด้านซ้ายมือเหนือส่วนราชการ และมีส่วนสาคัญประกอบด้วย
1.1 ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ ถ้าส่วนราชการ ที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมขึ้นไป ให้ใส่ชื่อส่วนราชการทั้งระดับกรมและสานัก/กอง ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ต่ำกว่ากรมลงมา ให้ใส่ชื่อสานัก/กอง พร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และหมายเลขภายใน (ถ้ามี)
1.2 ที่ ให้ใส่รหัสด้วยพยัญชนะ (ตัวย่อส่วนราชการ) เลขประจาของเจ้าของเรื่อง และเลขทะเบียนหนังสือส่งเรียงตามลาดับจนสิ้นปีปฏิทินแล้วเริ่มนับใหม่ในปีต่อไป เช่น ที่ พณ 0201/0056 เช่นเดียวกับหนังสือภายนอก
1.3 วันที่ ให้ใส่ตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราช ที่ออกหนังสือ เช่น 16 เมษายน 2556 เช่นเดียวกับหนังสือภายนอก
1.4 เรื่อง ให้ใส่เรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่องโดยปกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม เช่นเดียวกับหนังสือภายนอก
1.5 คำขึ้นต้น ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือ (รายละเอียดกำหนดไว้ท้ายภาคผนวก 2 ของระเบียบงานสารบรรณ) ตามด้วยชื่อตำแหน่งของผู้ลงนามในหนังสือที่มีมาถึง หรือชื่อบุคคลโดยตรง กรณีที่มีถึงตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ เช่นเดียวกับหนังสือภายนอก
2. ข้อความ ให้มีสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย ประกอบไปด้วย
2.1 ต้นเรื่องหรือเรื่องเดิม กรณีเป็นเรื่องใหม่ยังไม่เคยมีการดำเนินการในเรื่องนั้นมาก่อนให้ใช้ “ต้นเรื่อง” ถ้าเรื่องนั้นมีการดำเนินการมาก่อนแล้วให้ใช้ “เรื่องเดิม” โดยสรุปความเป็นมาของเรื่องเดิมอย่างย่อว่าเป็นมาเป็นอย่างไร
2.2 ข้อเท็จจริง เป็นการอธิบายให้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องหรือมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเดิม
2.3 ข้อกฎหมาย (ถ้ามี) เป็นการอธิบายเนื้อหาของกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยสังเขป โดยไม่ต้องคัดลอกมาทั้งหมดเป็นรายมาตรา แต่ในกรณีที่ไม่มีข้อกฎหมายก็ไม่ต้องมีข้อนี้
2.4 ข้อพิจารณา เป็นการสรุปข้อสังเกตที่สาคัญที่ควรหยิบยกมาให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ กรณีที่เป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2.5 ข้อเสนอ เป็นการชี้ประเด็นให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการ เช่น เพื่อทราบ
เพื่อให้ความเห็นชอบ เพื่ออนุมัติ เพื่อลงนาม ฯลฯ
3. ลงชื่อและตำแหน่ง เช่นเดียวกับหนังสือภายนอก
ขนาดครุฑของหนังสือภายในหรือบันทึกที่ใช้กระดาษบันทึกข้อความ กำหนดขนาดครุฑเท่ากับ 1.5 เซนติเมตร และใช้สีดา ขนาดของหัวกระดาษ “บันทึกข้อความ” ให้ใช้ตัวอักษรขนาด 30 – 33 พ. ตัวหนา ส่วนหัวหนังสือ ประกอบด้วย ส่วนราชการ ที่ เรื่อง ใช้ตัวอักษรขนาด 16 พ. ตัวหนา และเรียนใช้ตัวอักษรปกติ ชนิดและขนาดตัวอักษร ใช้ตัวอักษร (Font) TH SarabunPSK๙ ขนาด 16 พ. การเขียนชื่อหน่วยงานจะต้องสอดคล้องกับตาแหน่งผู้ลงนาม ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือ กล่าวคือ ผู้ใดลงนามชื่อหน่วยงานนั้นจะอยู่ลำดับต้น ส่วนเจ้าของเรื่องที่เป็นส่วนราชการรองจะอยู่ลำดับหลัง ต่อด้วยโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่องนั้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)